วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความคาดหวังต่องานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

ผลที่คาดหวังของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
1. ในระดับโครงการ1.1 ชุมชนสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยอาศัย การตัดสินใจ ผ่านข้อมูล ความรู้ที่ได้จากการศึกษา1.2 เกิดความรู้ในท้องถิ่น และเป็นประโยชน์กับท้องถิ่นโดยตรง เช่น การฟื้นฟู และถ่อยทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน ให้กับเด็กๆ รุ่นต่อไป1.3 เกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยคนท้องถิ่นเอง ทำให้คนท้องถิ่น “เก่ง” ขึ้น และดำเนินงาน ในเรื่องอื่นได้ดีขึ้น1.4 เกิดกลไกการจัดการ หรือองค์กรภายในชุมชน ที่จะดำเนินงานต่อไป กรณีนี้ อาจเป็นการหนุนเสริม ให้องค์กรที่มีอยู่ ทำงานได้ดีขึ้น เช่น การเสริมศักยภาพของ อบต. ในด้านต่างๆ หรือ การสร้างกลไกใหม่ในชุมชน เช่น เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ และกองทุนในระดับตำบล เพื่อประสานกลุ่มอมทรัพย์ กองทุนต่างๆ และบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
2. ในระดับเหนือโครงการองค์ความรู้ ที่ได้จากโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเด็นต่างๆ หลายๆ โครงการ สามารถนำมาสังเคราะห์ เชื่อมโยงระหว่างงานวิจัย และพัฒนา ที่ดำเนินการโดยฝ่ายต่างๆ ของ สกว. เพื่อยกระดับองค์ความรู้ และสามารถผลักดันแนวคิด มาตรการ นโยบาย หรือระบบ และกลไก ภายในประเทศ ที่จะเอื้อต่อการพัฒนา คุณภาพชีวิต ของชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น เช่น ระบบการกระจายสินค้าชุมชน ระบบการตลาด มาตรฐานสินค้า การรวมกลุ่มผู้บริโภค เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์จากชุมชน และการพัฒนามาตรฐาน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตลอดจน สามารถเชื่อมโยงแนวคิด สู่การพัฒนา ระดับนานาชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศ

ที่มา : http://www.geocities.com/db2545/book1/06.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น