วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปรัชญาและเนื้อหาหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2551)

1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ภาษาอังกฤษ : Master of Arts Program in Research for Local Development

2. ชื่อปริญญา
ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น)
(ชื่อย่อ) : ศศ.ม. (วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Master of Arts (Research for Local Development)
(ชื่อย่อ) : M.A. (Research for Local Development)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

4. หลักการและเหตุผล ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
4.1 หลักการและเหตุผล
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาขึ้นมาจากข้อเสนอของนักวิชาการ นักพัฒนาสังคม ผู้นำท้องถิ่นและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในงานพัฒนาสังคมท้องถิ่นทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยมีเป้าหมายว่าการวิจัยจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ การแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การพัฒนาสังคมท้องถิ่นอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในการพัฒนาของประเทศโดยเฉพาะในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์(Globalization) ที่นอกจากจะนำความเจริญและพัฒนาด้านเศรษฐกิจและด้านต่าง ๆ ในสังคมท้องถิ่นแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น ปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาซึ่งก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหาสังคม วัฒนธรรม ที่ให้ความสนใจในการสร้างมูลค่าและการรับเอาการบริโภคนิยมจนทำให้คุณค่าดั้งเดิมและภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกทำลาย จนนำไปสู่ภาวะวิกฤติในสังคม เกิดความอ่อนแอของชุมชนทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ประกอบกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยมุ่งลดบทบาทของรัฐส่วนกลาง(Decentralize) ลงเหลือภารกิจหลักที่ต้องทำเท่าที่จำเป็น เนื่องจากรัฐมีขีดความสามารถและทรัพยากรที่จำกัด และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนในการบริหารงานชุมชนในการตอบสนองปัญหา ความต้องการของท้องถิ่นมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม ดังนั้นการเตรียมความพร้อมบุคลากรและพัฒนาคนในท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศ
หลักสูตรวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นความร่วมมือระหว่างคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ต้องการสร้างนักปฏิบัติการทางสังคมให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เกิดกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์องค์ความรู้ ประสบการณ์ในท้องถิ่นเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ อันจะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น ตลอดจนให้ท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์จากการวิจัยและการพัฒนา นับเป็นการเสริมพลัง (Empowerment) ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเพื่อบรรลุสู่ความยั่งยืนของประเทศและภูมิภาค กล่าวได้ว่าหลักสูตรการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการตามพันธกิจหลักอย่างรอบด้านทั้งด้านการสอน การวิจัย
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการบริการวิชาการแก่ชุมชน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้เข้าร่วมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยเพื่อท้องถิ่นร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและพื้นที่ใกล้เคียง
จากบทเรียนการทำงานร่วมกับภาคีงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาที่ใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนท้องถิ่น ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาที่ช่วยสร้างเสริมความเข้มแข็งของท้องถิ่นให้ก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างแท้จริง แต่การสร้างบุคลากรที่จะเข้าไปทำงานในการส่งเสริมการทำงานด้านนี้ยังมีข้อจำกัดด้านปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นตั้งเป้าหมายในการผลิตบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นขึ้นมา เพื่อผลิตมหาบัณฑิตด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นออกมารับใช้สังคมอย่างแพร่หลายต่อไป


4.2 ปรัชญาของหลักสูตร
การบูรณาการวิธีวิทยาวิจัยและวิธีวิทยาการพัฒนาที่สอดคล้องกับฐานนิเวศวัฒนธรรม นำไปสู่การเสริมสร้างพลังชุมชนท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ได้ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของระบบ
โลกาภิวัตน์

4.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านวิธีวิทยาวิจัยท้องถิ่นและวิธีวิทยาการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีคุณสมบัติสำคัญดังนี้
1.1 เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการใช้วิธีวิทยาวิจัยท้องถิ่นและวิธีวิทยาการพัฒนาท้องถิ่น ในการ กระตุ้น/ผลักดัน/ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาร่วมกับชุมชนท้องถิ่น
1.2 เป็นนักปฏิบัติการทางสังคมที่มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ความหลากหลายของนิเวศวัฒนธรรม ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น
2. เพื่อใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่วมมือกับภาคีต่างๆที่จะนำไปสู่
การเพิ่มคุณภาพมหาบัณฑิตและตอบสนองความต้องการขององค์กร/หน่วยงาน
3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่นและขยายผลวิธีวิทยาวิจัยเพื่อท้องถิ่น นำไปใช้ในกระบวนพัฒนาสังคมเพิ่มมากขึ้น ทั้งในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคเอเชีย ผ่านการบูรณาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการชุมชน

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ3 พฤษภาคม 2563 เวลา 22:49

    I will recommend anyone looking for Business loan to Le_Meridian they helped me with Four Million USD loan to startup my Quilting business and it's was fast When obtaining a loan from them it was surprising at how easy they were to work with. They can finance up to the amount of $500,000.000.00 (Five Hundred Million Dollars) in any region of the world as long as there 1.9% ROI can be guaranteed on the projects.The process was fast and secure. It was definitely a positive experience.Avoid scammers on here and contact Le_Meridian Funding Service On. lfdsloans@lemeridianfds.com / lfdsloans@outlook.com. WhatsApp...+ 19893943740. if you looking for business loan.

    ตอบลบ