วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แนวคิดและหลักการ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
คู่มือการบริหารงานและการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เล่มที่ 1

ฐานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมุมมองของนักคิด กับกระแสความเคลื่อนไหวของโลก ฐานคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ศ.เสน่ห์ จามริก
… วิจัยที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นการวิจัยที่หมายความถึง การแสวงคำตอบที่เป็นระบบ เปิด … และเรื่องของการพัฒนาจะต้องตั้งโจทย์ที่เป็นระบบเปิด ฉะนั้น นอกจากเข้าใจปัญหา และมองแนวทางในการแก้ปัญหา .. เราก็มีโจทย์ในการวิจัยนั้น ซึ่งได้ชี้ช่องทางให้เราเห็นถึง .. แนวทางการพัฒนา หมายความว่า เป็นการพัฒนาต่อไป .. เป็นการกำหนดแนวทางการพัฒนาที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของท้องถิ่นโดยเฉพาะ .. การทำงานวิจัยในรูปนี้ .. เราจะต้องมองเงื่อนไขศักยภาพ เพื่อที่จะให้ท้องถิ่นสามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้ …
การวิจัยเพื่อท้องถิ่น : นัยและบริบท
ประการแรก สิ่งที่เราจะพูดในที่นี้ มันเป็นเรื่องของ “ชีวิตกับสังคม” เพราะฉะนั้น เวลาพูดถึงชีวิตกับสังคมแล้ว ก็หมายความว่า ประกอบไปด้วยมิติที่หลากหลาย ในขณะเดียวกับท่านทั้งหลายที่เข้ามาร่วมกันใน ณ ที่นี้ ก็จะมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ บทบาทเฉพาะต่างๆ เพราะฉะนั้น ในการเสวนาในวันนี้นั้น ก็อยากจะเรียนว่า พวกเราทุกคน รวมทั้งผม คงต้องพยายามที่จะถอดใจอกจากประสบการณ์เฉพาะด้านออกไป เพราะว่าเรากำลังเข้ามาเกี่ยวข้องกับ “ชีวิต” ซึ่งประกอบหลายมิติเข้าด้วยกัน ไม่เฉพาะเรื่องของสุขภาพอนามัย การเกษตร การทำมาหากิน การค้าขายเท่านั้น แต่ว่าเป็นเรื่องของชีวิตกับสังคมทั้งหมด เพราะฉะนั้น ตรงนี้ก็คงเป็นแบบฝึกหัดเบื้องแรก ในการที่เราจะมองไปในโลกของการวิจัยอย่างที่มีความหมาย ตรงนี้น่าจะเป็นฐานตั้งต้นที่เราเริ่ม เพราะถ้าเรายังจำกัดตัวอยู่ในความรู้ ความชำนาญ ประสบการณ์เฉพาะตัวแล้ว งานวิจัยที่เราพูดถึงว่า “วิจัยเพื่อท้องถิ่น” ก็คงมีความหมายที่ลดน้อยลงไป เพราะฉะนั้น ในการเสวนาครั้งนี้ ผมก็หวังว่าจะได้รับฟังจากประสบการณ์ ความรู้ ข้อมูล ของท่านทั้งหลาย ซึ่งมาจากด้านต่างๆ แล้วเราก็เอามากองรวมกันเอาไว้ เพื่อจะได้นำไปวิเคราะห์ประเด็นปัญหาให้ชัดเจนขึ้น การปลอดปล่อย การปลดแอก จากความชำนาญการเฉพาะด้านนั้น ผมว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญ
ประการที่สอง อยากจะเรียนว่า กระแสของการพัฒนา กระแสของการวิจัยเพื่อการพัฒนา รวมทั้งวิจัยขั้นพื้นฐาน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นนั้น ผมคิดว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เราได้ผ่านช่วงของความคิดแบบเบื้องบนสู่ล่าง เปลี่ยนแปลงไปสู่ความคิดที่จะให้ผู้ที่อยู่ในฐานะที่เคยรับการพัฒนา มาสู่ฐานะที่จะพัฒนาตัวเองขึ้น จะเห็นว่าเมื่อ 20 – 30 ปีก่อน เราจะได้ยินได้ฟังเสมอ เรื่องความจำเป็นพื้นฐาน หมายความว่า เป็นเรื่องที่นักวิชาการ หรือทางส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่มาวิจัย ก็จะมาสำรวจดูว่า จ.ป.ฐ. หรือความจำเป็นพื้นฐาน มันคืออะไร แต่นั่นผมคิดว่ามันเป็นการวิจัย การพัฒนาที่เป็น “การจราจรทางเดียว” เป็นการวิจัย การพัฒนาที่รู้ดีว่า ถ้าชาวบ้านจะมีความจำเป็นพื้นฐานที่ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว จะต้องเป็นอย่างนี้ ตามความต้องการจากข้างบน ซึ่งก็ไม่ใช่ผิดทั้งหมด เช่นว่า ต้องมีโภชนาการที่ดี จะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศที่ดี สิ่งพวกนี้มันไม่ได้ผิดในตัวของมันเอง แต่ว่ามันผิดในแง่ของกระบวนการ คือ เวลาที่เราวิจัยหรือพัฒนา เรามองเป้าหมายเป็นหลัก เหมือนกับในระบอบเผด็จการ อำนาจเบ็ดเสร็จ อย่างแบบคอมมิวนิสต์ เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ตรงนี้เรากำลังเคลื่อนตัวมาสู่ยุคของการพัฒนาที่เรียกว่า “พัฒนาเพื่อการพัฒนาตัวเอง” “การพึ่งตนเอง” แล้วเราก็ยังมีแถมด้วยคำว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เป็นยุคซึ่งจะเห็นว่าเป็นการเคลื่อนตัวมา ที่ไม่ใช่ในแง่ของความคิดอย่างเดียว แต่การเคลื่อนไหวมาสู่ช่วงใหม่นี้ เป็นการทบทวนถึงความผิดพลาด ความล้มเหลว ของแนวคิดหรือฐานความคิดที่กำหนดโจทย์ กำหนดกระบวนการพัฒนา กระบวนการวิจัย ในลักษณะที่เป็นจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างเป็นหลัก แล้วก็ประสบความล้มเหลวมาโยตลอด ในขณะเดียวกัน ก็มองว่า ความล้มเหลวนี้ นำไปสู่ความสูญเสียมากมาย อาทิ ปัญหาความยากจน ปัญหาความล่มสลายของสถาบันสังคม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ศาสนา ความเป็นชุมชน รวมทั้งความสูญเสียในเชิงของทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อม เป็นไปอย่างที่เรียกว่า เป็นปรากฏการณ์ความสูญเสียที่น่ากลัว แล้วก็เป็นเรื่องที่ยากในการที่จะฟื้นกลับคืนมาได้ เพราะฉะนั้น ตรงนี้ เรามาถึงช่วงการปรับความคิด โดยจากการเรียนรู้ถึงความผิดพลาด ความล้มเหลวต่างๆ สิ่งที่เป็นความคิดนี้ก็คือ เรื่องการพัฒนาตนเอง การพึ่งตนเอง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คำถามก็คือ ที่เราพูดกันในวันนี้ว่า “การวิจัยเพื่อท้องถิ่น” เราจะคิดกันอย่างไร ผมคิดว่าเราคงไม่ใช่มาตั้งต้นโดยไม่ได้ย้อนทบทวนไปถึงความผิดพลาด ความล้มเหลวที่ผ่านมาจากอดีต เราเรียนรู้จาดอดีต เหมือนกับเป็นไฟฉาย ที่ฉายแสงสว่างให้เราเห็น สิ่งที่น่าจะพึงปรารถนาในอนาคต นั่นก็คือ การวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่จะพัฒนาท้องถิ่นนั้น ได้ก้าวเดินไปในกระบวนการของการพัฒนา ผมขอเน้นคำว่า “กระบวนการ” ไม่ควรเน้นว่า “เป้าหมาย” แต่ว่าเป็นกระบวนการ ที่จะนำไปสู่ขีดความสามารถในการพัฒนาตัวเอง คือเวลาที่เราพูดถึงพึ่งตนเอง จะต้องอยู่บนฐานของขีดความสามารถในการพัฒนาตัวเองด้วย ไม่ใช่เป็นผู้ที่คอยรับผลบวกของการพัฒนา อย่างเช่น ใน จ.ป.ฐ. เขาบอกว่า โภชนาการชาวบ้านควรจะได้บริโภคอาหารที่มีธาตุอาหาร เราก็ส่งเสริมลงไป หรือว่าเราสำรวจแล้วบอกว่า ชุมชนชาวบ้านที่นี่ยากจน เพราะว่ามีรายได้ต่ำ เราก็อัดฉีดเงินเข้าไป อย่างที่เคยผ่านมาแล้ว เช่น เรื่องระบบเงินผัน หรือว่าในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ที่เราพูดถึงเขตยากจนอะไรต่างๆ เป็นพวกราชการมาขีดทั้งนั้น ว่าเขตไหนยากจน เขตไหนไม่ยากจน มาย้อยแค่ไหน แล้วเราก็อัดฉีดรายได้เข้าไป เพื่อที่เราจะเปลี่ยนจากสภาพนั้น หลักการหรือเป้าหมายสำคัญในการวิจัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่น คงต้องมองไปในแนวทางในแสงสว่างใหม่ เพื่อที่จะได้มีเป้าหมาย 3 ประการด้วยกัน คือ เพื่อให้ท้องถิ่นนั้น สามารถพัฒนาตนเองได้ สามารถพึ่งตนเองได้ และก็พัฒนาอย่างยั่งยืน หมายความว่า เป็นความยั่งยืนทั้งตัวเอง ยั่งยืนในฐานทรัพยากรธรรมชาติ หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เปรียบเสมือนเป็นสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน เป็นด้านหัวกับด้านก้อย เพราะฉะนั้น การพึ่งตัวเอง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ใช่คนยั่งยืนเพียงอย่างเดียว แต่หมายความว่าตัวฐานทรัพยากร ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของชีวิต และสังคมก็จะต้องเป็นด้านที่จะต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน
ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่คงจะต้องตั้งโจทย์ว่า ทำอย่างไรเราจึงจะเข้าใจปัญหาให้ชัดเจน การเข้าใจในตัวปัญหานี้ เป็นสิ่งที่เป็นเบื้องต้น การเข้าใจปัญหาจะทำให้เราสามารถตั้งโจทย์ในการวิจัยอย่างถูกต้อง และเหมาะสมได้ นอกจากเข้าใจปัญหาแล้ว ถ้าเราตั้งโจทย์ดีๆ และตั้งกระบวนการวิจัยให้ดีแล้ว ก็มีประเด็นที่ว่า จะเป็นการวิจัยที่นำไปสู่แนวทางที่ไม่ใช่เป็นคำตอบสำเร็จรูป หรือจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร การวิจัยนั้น ไม่ใช่เป็นการวิจัยเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ผมจึงปฏิเสธคำว่า “กรอบทางความคิด” ในการวิจัย เพราะทุกครั้ง เวลาที่เราวิจัย ที่เราเรียนหนังสือกันมา บอกว่ามีสมมติฐาน มีกรอบความคิดหรือที่เราเรียกว่า Conceptual Framework คำว่า “กรอบ” ตรงนี้เป็นคำที่ชวนให้เราเข้าใจว่า เป็นการวิจัยเพื่อที่จะนำไปสู่คำตอบอันหนึ่งที่กำหนดไว้ เช่น เราทำงานวิจัยให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง เพื่อที่จะแก้ปัญหาการขาดทุนของเขา จะทำอย่างไรให้แก้ปัญหาการขาดทุน และได้กำไรเพิ่มมากขึ้น อย่างนี้เป็นต้น เรามีคำตอบที่กำหนดไว้ แล้วเราก็ตั้งกรอบไว้เพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ เพราะฉะนั้น งานวิจัยในรูปแบบนี้ จึงเป็นงานวิจัยที่ขาดความเป็นอิสระ เพราะถูกำหนดโจทย์เอาไว้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว เป็นเจ้าของทุน ผมเคยนั่งอยู่ในบอร์ดของ TDRI แล้วเคยตั้งคำถามว่า สิ่งที่ TDRI ทำนี้ ค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า Consultancy เป็นการให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำกับตัวเจ้าของแหล่งทุน มากกว่าที่จะเป็นงานวิจัย หรือเป็น Real Research อย่างแท้จริง
Research ที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นการวิจัยที่หมายความถึง การแสวงคำตอบที่เป็นระบบเปิด คือไม่ใช่เป็นคำตอบ ที่สิ้นสุดความต้องการของอันหนึ่ง อันใดโดยเฉพาะ และในเรื่องของการพัฒนาก็จะต้องตั้งโจทย์ที่เป็นระบบเปิด เพราะฉะนั้น นอกจากเข้าใจปัญหา และมองแนวทางในการแก้ปัญหาที่เรามองเห็น ปัญหาความยากจน และมองแนวทางในการแก้ปัญหาที่เรามองเห็น ปัญหาความยากจน ปัญหาโภชนาการ อะไรต่างๆ เราก็มีโจทย์ในการวิจัยนั้น ซึ่งได้ชี้ช่องทางให้เราเห็นถึงสิ่งที่ผมเรียกว่า “แนวทางการพัฒนา” หมายความว่า เป็นการพัฒานาต่อไป ซึ่งผมเรียกว่าเป็น “ระบบเปิด” ที่เป็นการกำหนดแนวทางการพัฒนาที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของท้องถิ่นโดยเฉพาะ เพราะฉะนั้น ในการทำงานวิจัยในรูปนี้ก็หมายความว่า เราจะต้องมองเงื่อนไข ศักยภาพ เพื่อที่จะให้ท้องถิ่นสามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้ หลังจากที่เข้าใจปัญหาแล้ว แก้ปัญหาที่อาจจะเรียกว่า ปัญหาที่สามารถมองเห็นได้ เช่น ปัญหาปวดหัว ตัวร้อน ไข้ขึ้น พวกนี้แล้ว ทำอย่างไรที่จะให้สามารถดำรงชีวิต ดำเนินชีวิต เพื่อการพัฒนาต่อไปได้ ตามศักยภาพและขีดความสามารถที่เขาจะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น งานพัฒนาหรืองานวิจัย ละการพัฒนา จึงเป็นการแสวงคำตอบที่เปิด ขึ้นอยู่กับตัวเงื่อนไข และศักยภาพของชุมชนนั้นโดยเฉพาะ ตรงนี้ทำให้เราเห็นว่า ในการวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีความสำคัญอย่างมาก ที่เราจะต้องเข้าใจปัญหา วางแนวทาง เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทางการวิจัยที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะตีขีดเส้น เพื่อให้เห็นว่า ขอบเขตการวิจัยมีกว้างขวางแค่ไหน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผมต้องการจะพูดเป็นเบื้องแรกครับ
โดยสรุปก็คือ ประการแรก เราคงต้องปลดปล่อยตัวเองออกจากความสนใจเฉพาะด้าน ผมคิดว่าเป็นเงื่อนไขที่สำคัญอย่างยิ่ง ประการที่สอง ต้องมองเห็นว่า เป้าหมายหรือความหมายของการพัฒนานั้น คงไม่เป็นเพียงการจราจรทางเดียว คงไม่ใช่เป็นเพียงกำหนดสิ่งที่เรียกว่า จ.ป.ฐ. แต่หมายความถึง เป็นงานวิจัยที่จะมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธีอะไรก็ตาม ที่จะสามารถทำให้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ทีช่องทาง แนวทาง ในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง เพื่อการช่วยตัวเองได้ และในขณะเดียวกัน ก็มีแนวทางการพัฒนา เพื่อความยั่งยืนสำหรับชีวิตของตัวเอง ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมด้วย สิ่งนี้ น่าจะเป็นข้อคิดเบื้องต้น ที่อยากจะนำเสนอในที่นี้ เพราะฉะนั้น “งานวิจัย จึงเป็นงานที่ขึ้นอยู่กับสำนึกมาก” วิจัยไม่ใช่เป็นเพียงเทคนิควิธีการที่เราร่ำเรียนกันมา ผมจำได้ว่า พอเข้าชั้นเรียน เรื่องการวิจัย ครูบาอาจารย์ก็จะบอกว่า เราเริ่มต้นด้วยวิธีวิจัย (Methodology) กันว่า เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ไม่ใช่ ผมคิดว่า ความสำนึก จิตนาการ สำคัญมากๆ จากสำนึกตรงนี้เป็นเรื่องของการใช้จินตนาการที่จะมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของโลก โลกนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป แต่ในระบบการศึกษาของเรา ยังขัวตัวเองอยู่ในโลกของเก่าอยู่ ตรงนี้เราก็จะต้องปลดปล่อยตัวเองออก นี่เป็นเงื่อนไขสำคัญ
จากพื้นฐานที่ผมเรียนเป็นเบื้องแรกสงประเด็นใหญ่ๆ ตรงนี้ผมอยากจะนำเข้าไปสู่เนื้อหาที่จะนำเสนอในที่นี้ว่า ถ้าเรามีข้อคิดเบื้องต้นอย่างนี้ เรามองเห็นว่าการพัฒนาต้องพ้นออกจากกระแสการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ระหว่างผู้พัฒนา กับผู้ถูกพัฒนา รวมทั้งการที่จะต้องเข้าใจถึงชีวิต เข้าใจถึงการที่ท้องถิ่นเอง จะต้องเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วม ประเด็นนี้ผมอยากจะเรียนว่า เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักเป็นเบื้องต้น ไม่ใช่ข้อคิด ถ้าเราไม่สามารถเอาชนะ หรือก้าวข้ามอุปสรรคนี้ได้ เราก็ไม่สามารถออกไปจากแนวทางของเรา หรือความชำนาญการเฉพาะด้าน ซึ่งก็ยากที่จะทำให้เราสามารถมองประเด็นปัญหา เรื่องการวิจัยเพื่อท้องถิ่นอย่างถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริงได้
ยกตัวอย่างเช่น ที่ผมเคยทำเรื่องป่าชุมชน จะเห็นว่าตรงนี้เราก็ต้องก้าวข้ามการมอง “การจัดการทรัพยากรป่า” ผมปฏิเสธคำว่า “ป่าไม้” มาโดยตลอด เพราะเราต้องเข้าใจว่า ป่าเมืองไทยไม่ใช่ป่าธรรมดา ไม่ใช่เป็นป่าไม้เท่านั้น แต่เป็นป่าซึ่งเป็นทรัพยากรชีวภาพที่มีค่ามากมาย ตรงนี้เริ่มมีการยอมรับกันแล้วว่า การจัดการในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ร่ำเรียนกันมา ที่อธิบดีกรมป่าไม้คนแรก ซึ่งเป็นคนอังกฤษสอนเราไว้ เป็นสิ่งที่พ้นสมัยไปแล้ว อันนี้ก็เป็นตัวอย่างที่ผมอยากจะเรียนว่า เราคงต้องก้าวข้ามการจัดการในเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการจัดการแบบเจรจาทางเดียว มาสู่การจัดการในเชิงบทบาทของชุมชนด้วย เราถึงได้พูดถึงเรื่อง “ป่าชุมชน” นี่ก็เป็นตัวอย่าง เรื่องการศึกษา ระบบการศึกษา ก็เช่นเดียวกัน แต่ก่อนนี้เราสอนกันแบบคุณพ่อรู้ดี แต่ปัจจุบันเราเริ่มพูดเรื่องการศึกษาตามอัธยาศัย พูดถึงเรื่อง Home School ดังนั้น จะเห็นว่า สิ่งต่างๆ ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น ซึ่งคงไม่พ้นวิสัยที่ว่า เราจะก้าวข้ามอุปสรรคความคิดความอ่านดั้งเดิมของเราได้
ผมอยากจะแบ่งประเด็นที่ผมพูดนำตรงนี้ว่า ผมพูดในเชิงที่อยากจะกระตุ้นท่าน 3 ประเด็นด้วยกัน
ประเด็นที่ 1 เราจะเข้าใจสิ่งที่เราเรียกว่า “งานวิจัย” กันอย่างไร งานวิจัยไม่ใช่เป็นเพียงให้คำตอบสำหรับความต้องการ หรือจุดประสงค์ของแหล่งทุน หรือของใครโดยเฉพาะ แต่ว่าจะต้องเป็นระบบเปิด
ประเด็นที่ 2 สภาวะความรู้ (The Stage of Knowledge) และความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นที่มีอยู่ ในขณะนี้ เราบอกว่าวิจัยท้องถิ่น โดยมาถึงก็ลงมือวิจัยกัน ตั้งโจทย์กันเอง ถึงจะให้ชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้านมาร่วมก็ตาม ผมคิดว่า ถ้าเรามองข้ามสภาวะความรู้ ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ ที่ผมใช้คำว่า “ฐานต้นทุนทางภูมิปัญญา” จะทำให้งานวิจัยของเราสัมฤทธิผล แทบเป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนั้น เท่ากับว่า เราสร้างวัฒนธรรมการวิจัยและการเรียนรู้ที่ไม่สร้างสรรค์ สมมติว่ามีสถาบันขึ้นมาใหม่ ต่างคนต่างเริ่มขึ้นมาใหม่ ผมว่า อย่างนี้เป็นไปไม่ได้ ที่จะทำให้การวิจัย (Re-search) มาเป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ ความรู้ในโลกนี้ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ ท่านทั้งหลายที่มาร่วมในที่นี้ ก็ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ เริ่มจากบางสิ่งบางอย่าง แต่คำถามมีอยู่ว่า เราคงต้องทำความเข้าใจว่า ฐานที่เรากำลังมีองค์ความรู้อยู่ ข้อมูลที่มีอยู่คืออะไร? ผมคิดว่าการวิจัยเพื่อท้องถิ่นนั้น จะต้องเป็นการวิจัยเพื่อสานต่อตรงนี้ ไม่ใช่มาเริ่มกันใหม่หมด ถ้าเริ่มใหม่ ถึงแม้ว่าจะมีเงินทุนมากก็ตาม มันจะเป็นการสร้างนิสัยจับจดด้วย อันนี้เป็นจุดอ่อนในโลก ในประชาคมการวิจัยของเราที่เป็นอยู่ขณะนี้
ประการที่ 3 จะตั้งโจทย์วิจัยและรวบรวมข้อมูลกันอย่างไร เพราะว่าการวิจัยนั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการแสวง สะสม รวบรวม ประเมิน วิเคราะห์ข้อมูล แต่ “ข้อมูลเพื่อการวิจัย” ที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง พึ่งตนเอง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น โจทย์ และข้อมูลควรเป็นอย่างไร
การวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับความเป็นไปของโลกในเรื่อง “ความหมายของการวิจัย” ในที่นี้ ไม่ใช่ว่าผมจะเอาเรื่องคำจำกัดความว่าวิจัยคืออะไรมาพูด แต่ว่ามาพูดถึงความหมายของการวิจัย เพื่อที่เราจะได้ตระหนักถึงตัวปัญหาที่เราจะแสวงหาว่า ในการแสวงหาความรู้ใหม่นี้ ให้ความหมายอะไรกับสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ ผมขอให้นำเอาบทความของผมเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัฒน์” มา ผมคิดว่ามีบางประเด็นทีเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในส่วนหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดจะเห็นได้ว่า เวลาที่เราพูดถึง “เศรษฐกิจพอเพียง” ทุกคนจะพุ่งไปที่ไร่นา หรือชนบทหมด แต่โดยแท้จริงแล้ว คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียงในสถานการณ์โลกปัจจุบัน” ผมขอเน้นตรงนี้ว่า เวลาเราพูดอะไร เราต้องรู้ว่าสิ่งนั้นอยู่ในบริบทอะไร บริบทในความหมายของ “เศรษฐกิจพอเพียง” หรือ “การวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ไม่ใช่เป็นบริบทของชุมชนชนบทหรือภาคเกษตรกร ที่อยู่ในโลกของตนเองอย่างโดดเดี่ยว แต่อยู่ในโลกของความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ที่ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมา ก็เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า เวลาเราพูดถึง “เศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ได้หมายถึงเพียงการวาดรูปไร่นา จะทำอะไรให้ไร่นา เพื่อที่จะทำให้พอกิน แต่มีความหมายนัยที่กว้างไกลมาก ถึงกระแสโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization เพราะฉะนั้น ในนี้ผมจึงได้ตั้งหัวข้อเอาไว้ตั้งแต่เริ่ม ประการแรกคือพื้นฐานความเข้าใจร่วมกันเบื้องต้น อย่างที่ผมจะนำเสนอประเด็นตรงนี้ ผมก็ได้พูดเกริ่นแต่แรกว่า เราจะต้องมีความเข้าใจร่วมกัน มิฉะนั้นแล้ว ประเด็นที่เราจะพูดกันต่อไปนั้น ก็จะพูดไปไม่รู้เรื่องกัน
คำว่า “โลกภิวัตน์” “โลกานุวัตน์” นั้น โลกานุวัตน์ (โลกา + อนุวัตน์) คือการประพฤติตามโลก ประพติตามไปเรื่อยๆ ผลของการโลกานุวัตน์ หรือ โลกาภิวัตน์ เป็นเส้นทางที่นำเราไปสู่เส้นทางที่ผมเรียกว่า “เส้นทางสู่เศรษฐกิจเชลย” มาถึงวิกฤติตอนนี้ IMF เข้ามา เรามองเห็นชัดเจน เป็นเส้นทางที่เราเดินไปอย่างนั้น นี่ก็เป็นสิ่งที่ผมได้พูดเอาไว้ และในขณะเดียวกัน เหตุปัจจัยแห่งปัญหาไม่จำกัดเฉพาะที่เราวางแผนพัฒนาตามฝรั่งตั้งแต่ปี 2504 เท่านั้น เมื่อครู่ โลกานุวัตน์เป็นการว่าไปตามโลก มันเป็นเส้นทางที่นำเรามาสู่การเป็นเชลยทงเศรษฐกิจเช่นขณะนี้ แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ผมเรียกว่า “โลกาภิวัตน์ทุนนิยม” นักเศรษฐศาสตร์ไทย โดยเฉพาะนักเศรษฐศาสตร์จากสภาพัฒน์ชอบว่า การพัฒนาเศรษฐกิจไทย เปรียบเสมือนฝูงห่านบินตามกันไป ตัวหน้าบินไปแล้ว ก็บินตามกันไป นั่นคือ การเดินในเส้นทางนั้น ก็เป็นเส้นทางที่กำหนดจากโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นฝ่ายแผ่อำนาจไปทั่วโลก
แม้เราจะวิจัยในระดับท้องถิ่น เราต้องเข้าใจว่า ในกระแสโลกกำลังแปรเปลี่ยนไปจากทุนนิยมธรรมดา ไปสู่สิ่งที่ผมเรียกว่า “วัฒนธรรมการล่าเหยื่อ” จะเห็นว่า ลงทุนที่ไหน นายทุนท้องถิ่นล้มละลายหมด ขณะที่นายทุนท้องถิ่นไทยกำลังล้มละลาย เราก็ต้องออกกฎหมายล้มละลายตามที่ IMF ต้องการด้วยว่าจะล้มละลายอย่างไร ฝรั่งถึงจะได้ต้นทุนคืน ฉะนั้น ที่ไหนก็ตามที่ทุนต่างชาติเข้าไปลง ก็หมายความว่า ที่นั่นต้องมีการปลดพนักงาน ตอนนี้ทุกแห่งเป็นไปอย่างนั้นหมด เจ้าหน้าที่ พนักงานของรัฐ เสมียน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ระดับบริหารที่กำลังถูกปลด เรากำลังถูกบีบให้ทำในสิ่งที่เราเรียกว่า Down sizing เป็นศัพท์เทคนิคที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แล้วการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้สิ่งที่เราพูด “การวิจัยเพื่อท้องถิ่น” จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การวิจัยระดับท้องถิ่นจะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย จะเห็นว่าผมพยายามตีขอบข่ายของปัญหาเรื่องท้องถิ่นเป็นโลกที่กว้างขึ้น มันมีความเกี่ยวข้องกัน แล้วก็ต้องให้ความหมายของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ความหมายของคำว่า “การพัฒนาชนบท” ที่ปรับเปลี่ยนไปด้วย ไม่ใช่แค่พูดบอกว่า ต้องปลูกผักอย่างนั้น เลี้ยงสัตว์อย่างนี้ ใช้สารเคมีเท่านี้ ไม่ใช่อย่างนั้น เราจะต้องมองไปเห็นตัวที่ก่อปัญหาด้วย เพื่อเราจำได้พัฒนาชนบท พัฒนาท้องถิ่น แล้วก็ทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ไม่ใช่ให้สามารถตอบสนองความต้องการแบบพอมีพอกินเท่านั้น แต่จะต้องเป็นการพัฒนา ที่สามารถตอบปัญหากระแสของโลกานุวัตน์ และโลกาภิวัตน์จากระดับอื่นด้วย นี่ก็เป็นนัยที่ผมได้พูดถึง แล้วจากนั้น ผมถึงมาให้คำนิยาม คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” นั้น เป็นนิยามที่มีพลวัตอย่างสูง ไม่ใช่เป็นเศรษฐกิจพอเพียงที่อยู่กับที่ พอมี พอกิน พอใช้ ไม่ใช่แค่นั้น แต่หมายความว่าจะต้องเป็นกระบวนการพัฒนามีขั้นตอนอย่างไร จากพออยู่ พอกิน มาเป็นพัฒนาเพื่อฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ จนนำไปสู่ขั้นสุดท้ายในสิ่งที่ผมเรียกว่า “เศรษฐกิจชุมชน”
ผมคิดว่าบทความเรื่องนี้ คงพอให้ท่านทั้งหลายได้เห็นว่า ความหมายของ “การวิจัยเพื่อท้องถิ่น” นั้น มีนัยที่เป็นพลวัต และมีความกว้างอย่างยิ่ง ที่เราจะได้วางทิศทาง และขอบข่ายการวิจัย อย่างสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อท้องถิ่น ในประการสำคัญอย่างยิ่งที่ผมพยายามพูดถึงก็คือว่า ขณะนี้ เป้าหมายสำคัญของโลกาภิวัตน์ ที่ผมกล่าวว่า เป็นเส้นทางที่นำไปสู่วัฒนธรรมการล่าเหยื่อ เพราฉะนั้น การล่าเหยื่อในครั้งนี้ ไม่ได้แผ่อิทธิพลเพื่อเอาผลกำไรเท่านั้น แต่เป็นการล่าเหยื่อที่อาศัยฐานความสามารถทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะ เทคโนโลยีชีวภาพ ที่จะเข้าครอบครองทรัพยากรของโลกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพยากรทางความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีอย่างอุดมสมบูรณ์ในประเทศไทย เพราะชนบทไทย ท้องถิ่นไทย เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเขตร้อนของโลก ไม่ใช่มีแต่ไม้ อย่างที่เราถูกฝรั่งสอนมาว่า เป็นการจัดการเรื่องการทำไม้ ไม่ใช่นะครับ ตรงนี้มันเป็นข้อมูล ข้อเท็จจริงที่พื้นๆ และเราได้ทำการวิจัยจนเป็นที่ยองรับ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า “โลกาภิวัตน์” ไม่ใช่เป็นเพียงการวิ่งไปทำลายนายทุนท้องถิ่น แล้วก็พยายามที่จะลงทุนเพื่อแสวงผลอย่างเดียว แต่ยังเป็นความพยายามที่จะคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติของโลกอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพยากรชีวภาพของภูมิภาคป่าเขตร้อน ป่าเขตร้อนของโลกนั้นมีพื้นที่ไม่ถึงร้อยละ 7 ของพื้นที่ดินของโลก แต่เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ประเทศเขตร้อนจึงมักเป็นที่หมายปองของมหาอำนาจตะวันตก มหาอำนาจทางอุตสาหกรรม รวมทั้งสหรัฐฯ แต่ก่อนในยุคอาณานิคมเขาเข้ามาเปิดตลาด ขณะเดียวกันก็ตักตวงทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพไปเก็บไว้ในที่ของเขา ในประเทศของเขา ไปดูพวกสวนพฤกษศาสตร์ต่างๆ ที่อังกฤษ รวมทั้งที่อเมริกา ที่ญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพยากรที่ขนไปจากประเทศเขตร้อนทั้งสิ้น แต่มาในยุคนี้ เมื่อเทคโนโลยีชีวภาพเจริญขึ้น การที่เขาจะเอาทรัพยากรเขตร้อนไปเก็บไว้ในประเทศของเขานั้น อายุไม่ยืน ไม่ยั่งยืน เห็นเขาว่า อย่างมากก็ 5 ปี เพราะมันเป็นทรัพยากรที่ผิดอากาศ ตอนนี้การเข้ามาครอบครองในพื้นที่เขตร้อนเลยถูกกว่า จึงได้มีระบบใหม่ขึ้นมาในยุคระบบอาณานิคม แต่ก่อนไม่มีอย่างนี้ มาในระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ หรือทุนนิยม ตลาดเสรีนี้ หมายความว่า ไปที่ไหนก็เสรีทั้งหมดจึงเป็นทุนเสรีที่พยายามจะสร้างระบบใหม่ขึ้นมา เราเรียกว่า “ระบบทรัพย์สินทางปัญญา” ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยินเรื่องข้าวพันธุ์หอมมะลิ ทุกวันนี้ต้องยื่นฟ้องต่อศาลโลก ตรงนี้ผมคิดว่า การวิจัยและพัฒนาเพื่อท้องถิ่น คงต้องคำนึงถึงระบบสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาด้วย มันเป็นอาวุธอีกอันหนึ่งของมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจ ที่อาศัยขีดความสามารถทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีที่สำคัญใน๘ระนี้ 2 อย่าง คือ เทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล (Information technology) กับ เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) กำลังเป็นอาวุธสำคัญ ของระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ที่จะเข้ามาครอบครอง ถ้าสิ่งนี้เข้ามาครอบครองสำเร็จ ก็หมายความว่า จะส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อขีดความสามารถของวคนในท้องถิ่นที่จะพึ่งตนเองได้ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่า สังคมในชนบทของเรานั้น ชีวิตความเป็นอยู่ของคนกับฐานทรัพยากรไปด้วยกัน เหมือนกับที่ผมได้พูดในตอนต้นว่า การวิจัยเพื่อท้องถิ่นนั้น เหมือนเหรียญอันเดียวกัน มีทั้งด้านหัวและด้านก้อย มีทั้งเรื่องคน และเรื่องฐานทรัพยากร เพราะฉะนั้นผมคิดว่า การวิจัยเพื่อท้องถิ่นต้องเข้าใจความเป็นไปของโลก
เมื่อรวมความแล้ว ผมคิดว่า เราต้องเข้าใจความหมายและขอบข่ายของงานวิจัยใน 3 – 4 ประเด็นด้วยกัน ที่น่าจะประกอบในการพิจารณา คิดอ่านในการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้แก่
ประเด็นที่ 1 การวิจัยเพื่อท้องถิ่นจะต้องเป็นการวิจัยที่เริ่มต้นมาจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้ตามสมควร ถึงโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมือง ในระดับมหภาค
คำว่า “โครงสร้างระดับมหภาค” นั้น มีทั้ง 2 ระดับ คือ ระดับโลก และระดับรัฐ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกัน อย่างเช่น จอมพลสฤษฎ์ รับแผนพัฒนาจากธนาคารโลก มาจากกระแสโลก แล้วก็มาสู่กระแสรัฐ เพื่อวางแผนพัฒนา เน้นอุตสาหกรรม ชนบทยากจน เมื่อเขาจัดการกับชนบทไปแล้ว ตอนนี้เขากำลังจัดการกับทุนท้องถิ่น กับมืออาชีพทั้งหลาย อย่านึกว่าพวกนายทุน พวกวิชาชีพต่างๆ จะปลอดภัย เพราะว่าขณะนี้ เขาเริ่มเอาทุนมาแทรกแล้วก็ปลดพนักงาน เพราะฉะนั้น อย่าว่าแต่เกษตรกรในชนบทเลย ในเมืองเอง พวกกลุ่มทุนก็ดี ถ้าไม่สวามิภักดิ์กับทุนต่างชาติก็แย่ ดังที่บัญญัตินโยบายรัฐบาลในขณะนี้ โดยเฉพาะนโยบายจากกระรวงการคลัง ท่านทั้งหลายคงจะได้ยิน และอ่านข่าวแทบทุวันว่า การเพิ่มทุน การลดทุน (Recapitalization) หมายความว่า ต้องเอาทุนต่างชาติเข้ามาเสริม มิฉะนั้นจะอยู่รอดไม่ได้ ตอนนี้ก็กำลังเถียงกัน ระหว่างแบงค์ชาติ กับกระทรวงการคลัง คือ นักวิชาการกำลังคัดค้านการนำทุนสำรองมารวมกัน เพื่อจะแก้ไขปัญหาทางการเงิน นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าท่านทั้งหลายควรจะติดตาม เมื่อรวมความแล้วคือ เรื่องโครงสร้างมหภาคนี้ ส่งผลกระทบสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมือง ในระดับรัฐด้วย เพราะว่านโยบายของรัฐโดยหลักแล้ว จะมาจากผลกระทบของระดับโลก จะเห็นได้ว่า นอกจากการเพิ่มทุนแล้ว เรื่องการแปรรูปจะมาเรื่อยๆ การแปรรูปนี้ ไม่ใช่เพราะธุรกิจ บริการสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล รวมทั้งมหาวิทยาลัย ขณะนี้ก็กำลังโดนผลกระทบหมด สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญของท้องถิ่น เราต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย เมื่อเข้าใจแล้ว จะทำอะไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ประเด็นที่ 2 จะต้องเข้าใจโครงการระดับจุลภาค
ในขณะนี้ ท้องถิ่นไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก สมัยก่อน เราเรียกร้องเรื่องการกระจายอำนาจกันมาก แต่ช่วง 20 – 30 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่เราเข้าสู่กระแสส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติอย่างกว้างขวาง ทำให้โครงสร้างทางจุลภาค ได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย การวิจัยเพื่อท้องถิ่น ต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย ผมขอย้อนไปนิดหนึ่ง สมัยรัชกาลที่ 5 สังเกตดูให้ดี เป็นการปฏิรูปอำนาจ ที่รวมศูนย์ไปอยู่กรุงเทพฯ แต่ยุคนั้นก็ยังละเว้นไว้ในระดับหมู่บ้าน จะเห็นว่า ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านระดับนี้ ให้ชาวบ้านเลือกกันเอง จะดีหรือไม่ดี อยางไรก็แล้วแต่ อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นการให้ช่องว่างท้องถิ่นจะมีอิสระตามสมควร แต่ในกระแสการพัฒนาที่ผ่านมา ทำให้โครงสร้างของระบบผู้นำท้องถิ่นได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยยุคนายกชาติชาย ที่บอกจะเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า แล้วพวกเราก็สนับสนุน แต่นั่นเป็นการส่งผลกระทบต่อระบบโครงสร้างของท้องถิ่นอย่างมาก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่ใช่ผู้นำชุมชนเหมือนสมัยก่อน แต่กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมืองระดับบน เป็นนายหน้าค้าที่ดิน รับเหมา มาบัดนี้ เราปฏิรูปให้มี อบต. อบจ. ผมเกือบจะเรียกว่า เป็นการปฏิรูปที่ผู้นำชุมชน มีส่วนที่เป็นผู้นำของท้องถิ่นลดน้อยลงมาก ตรงนี้ต้องตระหนัก เพราะฉะนั้น การพัฒนาเพื่อท้องถิ่น จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนก็เป็นแต่ละเรื่อง แต่ประเด็นของผมคืองานวิจัย จะต้องคำนึงถึงปัจจัยนี้ด้วยว่า นี่คือปัญหาโครงสร้างระดับจุลภาคที่จะต้องคำนึงถึง
ประเด็นที่ 3 ในการวิจัยต้องรู้จักบริบทของสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของชุมชนได้ดี
ประเด็นนี้สำคัญมาก เราจะเข้าใจเพียงแค่บริบทอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องเข้าใจถึงผลกระทบที่มาจากโครงสร้างระดับสูงด้วย เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่กระทบต่อบริบท แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ณ จุดนี้ พื้นฐานของประวัติศาสตร์ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม ยังมีความสำคัญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของภูมิปัญญา ตอนนี้เราพูดกันถึงเรื่องปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำทางปัญญา เพราะเวลาที่เราพูดถึงว่า สังคมไทยเป็นสังคมทรัพยากรของภูมิภาคป่าเขตร้อน มันไม่ใช่เป็นต้นทุนทางวัตถุ คือทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้น แต่อีกซีกหนึ่งที่ควบคู่ไปกับทรัพยากรทางวัตถุก็คือ ทรัพยากรทางภูมิปัญญา ซึ่งในจุดนี้ เรามองข้ามไม่ได้ ผมคิดว่าระบบการศึกษา ระบบการวิจัยการพัฒนาของเรามองข้ามในสิ่งเหล่านี้ เวลาที่เรามีการวิจัยทางชีวภาพ เรามักจะมองไปที่ตะวันตกอยู่ตลอดเวลา แต่เราหารู้ว่า โดยความจริง ขุมทรัพย์ทางปัญญาของการวิจัย โดยเฉพาะการวิจัยทางชีวภาพนั้น มันอยู่ที่นั่น ผมเรียกร้องเสมอว่า ขอให้นักวิทยาศาสตร์ไททำงานกับชาวบ้าน เพราะว่าเวลาพวกฝรั่ง ญี่ปุ่นเข้ามา เขาก็ได้ชาวบ้านเป็นผู้นำไปชี้เบาะแส ถ้าไม่มีเบาะแส ก็เป็นการยากที่นักวิจัยภายนอกจะเข้าไปหาได้ และการวิจัยของเราไม่สามารถทำสำเร็จได้เลย แต่โดยวัฒนธรรมของเราแล้ว นักวิชาการของเรา โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์นั้น ไม่ค่อยทำงานกับชวาบ้านมากเท่าไหร่ ชาวบ้านไม่ใช่เป็นเพียงลูกหาบเท่านั้น แต่เขายังมีอะไรที่ต้องการจะนำเสนอด้วย ผมอยากเห็นตรงนี้ว่า เป็นการวิจัยที่เท่าเทียมกัน คือ ไม่ใช่เรียกร้องการมีส่วนร่วมเท่านั้น ผมคิดว่าการมีส่วนร่วม เราต้องมองในเชิงบวกให้ได้ อย่ามองในเชิงลบ
อย่างไรก็ตาม ในการที่เราจะเข้าใจถึงสมมติฐานว่า ปัญหาอยู่ที่ไหนนั้น ประเด็นอยู่ที่ว่า ต้องวิจัยไปด้วยว่าจะมีช่องทางการวิจัยอย่างไร คือผมได้พูดตั้งแต่ต้นแล้วว่า วิจัยให้รูปัญหา แก้ปัญหาความยากจน ปัญหาโภชนาการ แต่ต้องเข้าใจว่า เรามีฐานะอะไรที่จะพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าได้ ดังนั้น ความเข้าใจในบริบทสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เราต้องเข้าใจถึงบริบทที่เป็นไป เพื่อที่จะทำให้เรารู้ว่า ถ้าเราจะให้เขาพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อพัฒนาตนเองต่อไปนั้น เราจะตั้งต้นตรงไหน คงไม่ใช่ตั้งต้นที่กระทรวงสาธารณสุข คงไม่ใช่ตั้งต้นที่กรมนั้น นอกจากบริบททางสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์แล้ว เราก็ต้องเข้าใจโครงสร้างจุลภาค โครงสร้างมหภาคด้วย
ประเด็นที่ 4 ต้องเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งที่เรียกว่า “ฐานทรัพยากร”
เราต้องเข้าใจว่า ป่าที่เรามี ไม่ใช่ป่าที่มีแค่ไม้ เราตีค่าเรื่องไม้แล้วก็จัดการโดยสัมปทาน ทุกๆ ตารางเมตรที่เราตัดไม้ หมายความว่าเราได้ทำลายศักยภาพการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นชุมชนหรือ ท้องถิ่น หมายถึง ศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมหาศาล เพราะเราได้ทำลายทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมสำคัญอย่างน้อยที่สุด 2 ประเภท คือ อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมยา ในขณะเดียวกัน ฐานทรัพยากรก็ไม่ใช่เพียงเรื่องวัตถุธรรม แต่ยังมีเรื่องของนามธรรม จะเห็นว่าในชนบทเรา มีคนที่เป็นหมอหลายคน ทั้งหมอยา และอีกหลายหมอ ผมตั้งคำถามว่า ทำไมเราถึงตั้ง อสม. ในเมื่อเรามีคนของเราอยู่แล้วในท้องถิ่น เราก็เรียกหมอยามา แล้วหมอยาก็หาผู้ช่วยหรืออาสาสมัครเอง แทนที่กระทรวงจะเป็นคนเลือก นี่ก็เป็นตัวอย่าง เรามีหมอยา หมอดิน เรามีทรัพยากรบุคคลมากมาย แต่เราไม่ได้ดึงเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ถ้าเราเริ่มต้นจากตรงนั้น เราก็จะได้เห็นถึงบริบทต่างๆ แล้วฐานทรัพยากรก็เป็นฐานที่สามารถทำให้เราหาจุดตั้งต้นที่จะวิจัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้
กระบวนการพัฒนาเชื่อมโยงชนบท เมือง และโลก
ในบทความผมหลายเรื่อง ผมพยายามบอกว่า เราต้องรู้จักธนาคารโลก (World Bank) ต้องรู้จักกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รู้จักองค์การการค้าโลก (WTO) ที่พัฒนามาจาก GATT รวมทั้ง ADB ด้วย เราต้องรู้จักสิ่งนี้ให้ดีว่า องค์กรเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศเหล่านี้ เป็นเพียงมือไม้ของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก เขาพยายามที่จะให้ประเทศที่กำลังพัฒนา ไปในแนวที่จะส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหรรม ซึ่งก็หมายความว่า เป็นการพัฒนาที่ทำให้เราอยู่ภายใต้การครอบงำ ทั้งทุน เทคโนโลยี รวมทั้งการตลาด จะเห็นได้ว่าพอถึงจุดนี้ จุดที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา แล้วก็เกิดความวุ่นวายที่มีการประชุมองค์การการค้าโลก ท่านทั้งหลายอ่านข่าวมาก็คงจะจำได้ ตอนนี้องค์กรเหล่านี้กำลังพูดกัน เขาทบทวนเพื่อที่จะวางแนวทางความอยู่รอดของโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมือง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ เป็นโครงสร้างที่อยู่ภายใต้การครอบงำของมหาอำนาจอุตสาหกรรมอยู่นั่นเอง มาตอนนี้จะเห็นว่าธนาคารโลก ADB IMF ก็จะมีศัพท์ใหม่ๆ เดี๋ยวนี้ทั้งธนาคารโลก กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เวลาให้กู้อะไรไป เขาก็จะมีเงื่อนไขที่เรียกว่า Structural Adjustment หรือการปรับโครงสร้าง เหมือนที่เราอ่านขาวทุกวันนี้ก็เช่น ลดจำนวนข้าราชการ แปรรูป โรงพยาบาล โรงเรียน เพื่อเปิดช่องการลงทุนเข้ามา เพราะต่อไปนี้ มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อความอยู่รอด ก็ต้องเปิดหุ้นกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ในจุดนี้ ผมคิดว่าเป็นจุดที่กำลังจะมีปัญหา เขาเริ่มคิดใหม่แล้วว่า ถ้าพูดเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจไป จะต้องหันกลับมาให้ภาพพจน์ของธนาคารโลกใหม่ ตอนนี้ เขาเริ่มเปลี่ยนคำว่า Structural Adjustment เป็นโครงสร้างเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ADB ก็ทำเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น เงินกู้ก็จะเข้าไปเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
ผมพูดตั้งแต่แรกว่า “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” คงไม่ใช่เป็นเพียงที่จะตรงไปแบบจราจรทางเดียว ไปแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งจะไม่แตกต่างกับเมื่อยุค จ.ป.ฐ. สิ่งนี้จะไม่แก้ปัญหาเลย เป็นการแก้ปัญหาที่ทำให้คนยากจนในชนบทต้องพึ่งระบบทุนตลอดเวลา เราอย่าไปหลงคำวลีต่างๆ เวลานี้ ธนาคารโลกจะพูดถึงเรื่อง ธรรมรัฐ (Good Governance) แปลว่า การปกครองที่ดี พูดเรื่องความโปร่งใส มีคนไทย นักธุรกิจไทย ขานรับอยู่ตลอดเวลา และขณะนี้ธนาคารโลกให้งบวิจัยกับ สกว. เรื่องปฏิรูปกฎหมาย เพื่อเปิดช่องให้กฎหมายล้มละลายคล่องตัวขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นการเปิดช่องทางทะลุทะลวงของการลงทุน รวมถึงการเปิดช่องทางในเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เวลานี้กฎหมายประกอบการธุรกิจคนต่างด้าวผ่านแล้ว เป็นการเปิดช่องให้ธุรกิจการลงทุนมาครอบงำที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ ผมคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างตรงนี้ กำลังเปิดช่องทางที่ส่งผลกระทบอย่างมาก ต่อการวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อพัฒนาตัวเอง ทั้งเรื่องของที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เป็นกระแสที่กำลังโหมเข้ามาอย่างรุนแรงและหนักหน่วง
ผมจึงพูดว่า การมองดูท้องถิ่น จะต้องดูให้เป็นกระบวนการที่จะต้องพัฒนาไปให้ได้ และน่าจะเป็นกระบวนการที่เปิดช่องให้เขาเชื่อโยงกับธุรกิจในเมืองให้ได้ ในรูปของ SME และเราต้องทำเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นตัวเป็นตนให้ได้ เรายังไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้อย่างพอเพียง มีกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีตำรวจเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้แค่คอยไล่จับ เรืองคัดลอก CD เพลง ไล่จับเพื่อทำให้ต่างชาติมีความมั่นใจ แต่เราไม่เคยคิดว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือตำรวจเศรษฐกิจ จะเป็นส่วนที่ทำให้เราสร้างสวรรค์สิ่งที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นมาอย่างไร ผมตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมกรมทรัพย์สินทางปัญญา จึงไปตั้งอยู่กับประทรวงพาณิชย์ ทำไมไม่อยู่ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพราะว่ากระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ส่งออก เพราะฉะนั้น ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งที่แลกเปลี่ยนกับการส่งออก จะเป็นว่ามันผิดพลาด
เพราะฉะนั้น การวิจัยของเรา ผมคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นมาก โดยสรุปคือ การวิจัยคงจะต้องตั้งโจทย์ที่เปิดช่องทางให้ชนบทเข้าไปเชื่อมกับในเมืองให้ได้ ผมอยากจะเรียนว่า อนาคตของ SMEs ในเรื่องของอาหารและยา โดยเฉพาะอาหารที่ปลอดสารเคมี กำลังจะเป็นอนาคตของโลก เพราะฉะนั้นผมคิดว่า NGOs ที่ทำงานในภาคเหนือ เรื่องเกษตรยั่งยืน เกษตรทางเลือก อะไรต่างๆ นั้น กำลังจะเป็นอนาคต งานวิจัยต้องมองเห็นอนาคตนี้ให้ชัดเจน และ SMEs จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชนบทสร้างเครือข่ายเกษตร เครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ผมคิดว่านี่เป็นเป้าหมายโดยตรง และเป็นเป้าหมายเฉพาะหน้าของงานวิจัยและงานพัฒนาที่นี่ แต่ไม่ใช่ว่าเราเริ่มต้นพูดกันเรื่อง SMEs ไม่ใช่นะครับ ตอนนี้ผมว่าเราเข้าใจผิดมาก เราข้ามขั้น แต่เราต้องทำสิ่งเหล่านี้ให้ลงตัวพอสมควร ในระดับของเศรษฐกิจชุมชน ผมคิดว่าที่พูดกันมาทั้งหมดนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของเทคนิคล้วนๆ แต่จะขึ้นอยู่กับการสร้างระบบคุณค่าใหม่ด้วย
คำว่า “เศรษฐกิจชุมชน” ไม่ได้หมายความว่าเป็นเศรษฐกิจเพื่อการผลิตอย่างเดียว ไม่ได้หมายความว่า เพื่อที่จะหาทางไปต่อกับ SMEs ในเมือง ไม่ใช่อย่างนั้น แต่หมายความว่า เราจะต้องสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมใหม่ โดยไม่เห็นเงินเป็นสิ่งสูงสุด ผมคิดว่าคำว่า “รายได้” จะต้องมานิยามกันใหม่ ผมขอเสนอตรงนี้ว่า เราต้อนิยามศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์กันใหม่ ผมขอแนะนำให้นักเศรษฐศาสตร์ไปอ่านหนังสือของ Professor Power เรื่อง The Economic Pursued of Equality คือการแสวงทางเศรษฐกิจเพื่อคุณภาพ เวลานี้ เศรษฐศาสตร์ของเราเล่นแต่ปริมาณเพียงอย่างเดียว แต่ Professor Power ได้กล่าวไว้ว่า
“ฐานเศรษฐกิจที่แท้จริงของท้องถิ่น ประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ ที่ทำให้ท้องถิ่นนั้น เป็นสถานที่ที่ดึงดูดความสนใจที่จะร่วมอยู่อาศัย ดึงดูดให้เรามาทำงาน มาทำธุรกิจ หมายความว่า ฐานเศรษฐกิจของท้องถิ่นย่อมรวมไปถึงคุณภาพของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น ความมั่นคงปลอดภัย และเสถียรภาพของชุมชน คุณภาพของบริการสาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพของกำลังคน”
เรื่องเหล่านี้ไม่ได้ผลิตหรือสร้างขึ้นมาด้วนระบบเศรษฐกิจ ธุรกิจการค้า หรือว่าด้วยการผลิตเพื่อส่งออก ทั้งหมดเล่านี้ถูกสร้างมานอกระบบเศรษฐกิจการค้า แต่ก็เป็นฐานของเศรษฐกิจท้องถิ่นนั้น ข้อนี้น่าจะทำให้ได้มีการปรับเปลี่ยนความคิดและนโยบายเศรษฐกิจท้องถิ่นของเรา หมายความว่าระบบค่านิยม การบริโภค ต้องเปลี่ยนไป อย่างเช่น ตอนนี้ เราพูดถึงเรื่องข้าวกล้องกัน แต่ผมไปคุยกับชาวบ้าน ไม่มีใครรับประทานข้าวกล้อง อย่างนี้เป็นต้น และในบทความของผม ผมได้เอาประสบการณ์ของผมที่เป็นบทสรุปจากการทำงานที่บุรีรัมย์มา 3 ปี และได้สรุปว่า จริงๆ แล้ว ชนบทต้องการอะไร ที่จะทำให้เกิดการสร้างพื้นฐาน จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เป็นแกนกลางคือ คน ครอบครัว และชุมชน นั่นเป็นเป้าหมายหลัก และคุณค่าใหม่ที่เราจะต้องสร้างขึ้นนั้น ไม่ใช่ GDP หรือรายได้ แต่ต้องประกอบไปด้วย 3 มิติด้วยกัน คือ
1. มิติการจัดการต้นทุนชีวิต การฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ อากาศ สิ่งพวกนี้ผมถือว่าเป็นต้นทุนชีวิต ผมพูดกับชาวบ้านเสมอว่า ที่ดิน ไร่นา ไม่ใช่สิ่งที่ตีราคาด้วยตัวเงิน แต่หมายความว่า ถ้าเราขายหรือให้เช่า เหมือนกับเป็นการขยายชีวิต
2. มิติดุลยภาพแห่งชีวิต การผลิต การบริโภค ต้องผลิตเพื่อให้เขาบริโภคอย่างถูกสุขอนามัย การแพทย์แผนไทย จะต้องมีการเรียนรู้และพัฒนา
3. มิติการพัฒนาชีวิตและสังคม และการเปลี่ยนคุณค่าใหม่ สำนึกตรงนี้สำคัญมาก และยากกว่าเรื่องเทคนิคมาก
ผมคิดว่าเรื่องของการพัฒนาท้องถิ่นนั้น เรามีแหล่งที่จะเรียนรู้ได้มากมาย เช่น ที่ภาคใต้ก็เป็นเรื่องออมทรัพย์ของพ่ออัมพร ที่ยโสธรก็เป็นเรื่องระบบเงินตรา หรือสิ่งแลกเปลี่ยนของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ความผันผวนจากภายนอกเข้ามาส่งผลกระทบ แต่ผมอยากสรุปว่า ที่ผมพูดมาทั้งหมดนั้น การที่จะคิดเรื่องพัฒนาท้องถิ่นให้ทะลุตามสมควร ต้องเข้าใจถึงปัญหาของกระแสโลกด้วย เพราะจะเป็นการต้านต่อกระแสเงินตราของโลก ซึ่งเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน และอยู่ในมือของกลุ่มคนไม่กี่คน จะเห็นว่าตลาดหุ้นขึ้นลงตลอดเวลา อยู่ที่ว่าทุนต่างชาติจะเข้ามาซื้อหรือขายมากน้อยเท่าไร ผมจึงคิดว่า การที่ชนบทคิดเรื่องระบบเงินตรา เป็นเหมือนการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ที่ผมยกมาทั้งหมดนี้ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า ตอนนี้กระแสหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นมา นอกเหนือไปจากกระแสโลก (Globalization) แล้ว ก็เกิดกระแสท้องถิ่น (Localization) ขึ้นมาด้วย กระแสท้องถิ่นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะสังคมไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลก และด้วยเหตุนี้ NGOs เริ่มมีบทบาทสำคัญขึ้นมา ชุมชนท้องถิ่นเริ่มมีบทบาทสำคัญขึ้นมา อย่างเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็น แคนาดา ออสเตรเลีย คนพื้นเมืองเริ่มลุกขึ้นมาเรนียกร้องสิทธิ สิทธิบรรพบุรุษ สิทธิในแผ่นดิน แล้วรัฐบาลก็ต้องยอมด้วย ในทำนองเดียวกัน “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ก็ไม่ใช่เป็นงานที่เฉพาะพวกเราจะมาคิดในเรื่องของเรา แต่จริงๆ แล้ว เรามีเพื่อนมาก จะเรียกได้ว่า Globalization อีกรูปแบบหนึ่งก็ได้
เรียบเรียงจากเวที Open mind ครั้งที่ 1 “ฐานคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่น” โดย ศ.เสน่ห์ จามริก วันที่ 24 มีนาคม 2543 ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภาคเหนือ
http://www.geocities.com/db2545/book1/article1.html

ความคาดหวังต่องานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

ผลที่คาดหวังของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
1. ในระดับโครงการ1.1 ชุมชนสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยอาศัย การตัดสินใจ ผ่านข้อมูล ความรู้ที่ได้จากการศึกษา1.2 เกิดความรู้ในท้องถิ่น และเป็นประโยชน์กับท้องถิ่นโดยตรง เช่น การฟื้นฟู และถ่อยทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน ให้กับเด็กๆ รุ่นต่อไป1.3 เกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยคนท้องถิ่นเอง ทำให้คนท้องถิ่น “เก่ง” ขึ้น และดำเนินงาน ในเรื่องอื่นได้ดีขึ้น1.4 เกิดกลไกการจัดการ หรือองค์กรภายในชุมชน ที่จะดำเนินงานต่อไป กรณีนี้ อาจเป็นการหนุนเสริม ให้องค์กรที่มีอยู่ ทำงานได้ดีขึ้น เช่น การเสริมศักยภาพของ อบต. ในด้านต่างๆ หรือ การสร้างกลไกใหม่ในชุมชน เช่น เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ และกองทุนในระดับตำบล เพื่อประสานกลุ่มอมทรัพย์ กองทุนต่างๆ และบริหารจัดการ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
2. ในระดับเหนือโครงการองค์ความรู้ ที่ได้จากโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเด็นต่างๆ หลายๆ โครงการ สามารถนำมาสังเคราะห์ เชื่อมโยงระหว่างงานวิจัย และพัฒนา ที่ดำเนินการโดยฝ่ายต่างๆ ของ สกว. เพื่อยกระดับองค์ความรู้ และสามารถผลักดันแนวคิด มาตรการ นโยบาย หรือระบบ และกลไก ภายในประเทศ ที่จะเอื้อต่อการพัฒนา คุณภาพชีวิต ของชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น เช่น ระบบการกระจายสินค้าชุมชน ระบบการตลาด มาตรฐานสินค้า การรวมกลุ่มผู้บริโภค เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์จากชุมชน และการพัฒนามาตรฐาน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตลอดจน สามารถเชื่อมโยงแนวคิด สู่การพัฒนา ระดับนานาชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศ

ที่มา : http://www.geocities.com/db2545/book1/06.html

ความหมายของกระบวนการ

ความหมายและกระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ภายใต้แนวคิด และหลักการดังกล่าว จึงเกิดคำนิยามใหม่สำหรับงานวิจัยว่าเป็น “กระบวนการ ที่คนในชุมชนได้มาร่วมคิดทบทวนสถานการณ์ ตั้งคำถาม วางแผน หาข้อมูล ทดลองทำ วิเคราะห์ สรุปคำตอบ และถอดบทเรียนเพื่อปรับปรุงงานต่อไป” นั่นหมายความว่า งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เน้นการให้ “คน” ในชุมชน เข้ามาร่วมในกระบวนการวิจัย ตั้งแต่การเริ่มคิด การตั้งคำถาม การวางแผน และค้นหาคำตอบอย่างเป็นระบบ โดยมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Action Research) ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้ ได้ผลงานและเก่งขึ้นในการแก้ปัญหาของตนเอง ตลอดจนยกระดับการแก้ปัญหาให้มีความน่าเชื่อถือสูง และสามารถ ใช้กระบวนการนี้ ในการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในท้องถิ่น มีกระบวนการศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นเหตุ เป็นผล ดังนั้น จุดเน้นของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ก็คือ เน้นที่ “กระบวนการ” มากกว่า “ผลลัพธ์” เพื่อให้ชาวบ้าน ได้ประโยชน์จากงานวิจัยโดยตรง ให้งานวิจัย มีส่วนในการแก้ปัญหาของชาวบ้าน และเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริง ในชุมชน ซึ่งจะต้องอาศัย “เวที” (การประชุมเสวนา ถกเถียง) เป็นเครื่องมือ เพื่อให้คนในชุมชน ได้มีส่วนร่วม ทั้งกลุ่มชาวบ้าน ครู โรงเรียน เอ็นจีโอ สมาชิก อบต. กรรมการสหกรณ์ ข้าราชการ หรือกลุ่มคนอื่นๆ ที่จะเข้ามาร่วมใช้ “ปัญญา” ในกระบวนการวิจัย
โดยสรุป “กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” หมายถึง การทำงาน อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อตอบ “คำถาม” หรือ “ความสงสัย” บางอย่าง ดังนั้น สิ่งสำคัญคือประเด็น “คำถาม” ต้องคมชัด โดยมีการแยกแยะประเด็นว่า ข้อสงสัยอยู่ตรงไหน มีการหา “ข้อมูล” ก่อนทำ มีการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล มีการ “วางแผน” การทำงาน บนฐานข้อมูลที่มีอยู่ และในระหว่างลงมือทำการ “บันทึก” มีการ “ทบทวน” ความก้าวหน้า “วิเคราะห์” ความสำเร็จและอุปสรรคอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ “ถอด” กระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดขึ้นออกมาให้ชัดเจน ในที่สุดก็จะสามารถ “สรุปบทเรียน” ตอบคำถามที่ตั้งไว้ แล้วอาจจะทำใหม่ให้ดีขึ้น ตลอดจน สามารถนำไปใช้เป็นบทเรียนสำหรับเรื่องอื่นๆ หรือพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้กระทำโดย “ผู้ที่สงสัย” (คนในท้องถิ่น) นั่นเอง
วิธีการนี้ เป็นงานวิจัยอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่ยึดติดกับระเบียบแบบแผน ทางวิชาการมากนัก แต่เป็นการสร้างความรู้ ในตัวคนท้องถิ่น โดยคนท้องถิ่น มุ่งแก้ไขปัญหา ด้วยการทดลองทำจริง และมีการบันทึก และวิเคราะห์ อย่างเป็นระเบียบ การวิจัยแบบนี้ จึงไม่ใช่เครื่องมือทางวิชาการ ที่จะขอตำแหน่ง ไม่ใช่ของศักดิ์สิทธิ์ ที่ผูกขาดอยู่กับครูบาอาจารย์ แต่เป็นเครื่องมือธรรมดา ที่ชาวบ้านก็ใช้เป็นประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้

แนวคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
หลายสิบปีที่ผ่านมา งานวิจัยในประเทศไทย มักถูกตั้งโจทย์โดยนักวิชาการ หน่วยงานต่างๆ เพียงเพื่อทดสอบทฤษฎีบางอย่าง หรือต้องการหาคำตอบบางอย่าง ที่กลุ่มคนเหล่านั้นสนใจ หรือเข้าไปทำวิจัยในท้องถิ่น เพื่อการวางแผน กำหนดนโยบายบางอย่าง เพื่อคลี่คลายปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ แต่ก็ยังเป็นที่กังขาว่า ผลงานวิจัย ได้ถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ กับคนส่วนใหญ่หรือไม่ สามารถตอบคำถาม ในชุมชน และนำไปแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เพราะหลายๆ ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข และในบางปัญหา กลับดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก ขาดการคำนึงถึงว่า ชุมชนต้องการจะคลี่คลาย ในสิ่งที่กลุ่มคนภายนอกเข้าไปศึกษาหรือไม่ กล่าวคือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง มักจะไม่ได้นำงานวิจัยไปใช้ หรือไม่ตอบสนองกับปัญหาของชุมชนนั่นเอง
สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงพยายามสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ในการสนับสนุนงานวิจัย คือ “ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม ที่จะทำวิจัย โจทย์ควรมาจากชุมชนท้องถิ่น ทำแล้วก่อให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงในชุมชน ทำให้คนในชุมชน ได้เรียนรู้และเก่งขึ้น” บนฐานคิดตามความหมาย การวิจัยของศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ที่ได้กล่าวไว้ว่า “วิจัยที่แท้จริงนั้น จะต้องเป็นการวิจัย ที่หมายความถึงการแสวงคำตอบที่เป็นระบบเปิด .. และเรื่องของการพัฒนา จะต้องตั้งโจทย์ที่เป็นระบบเปิด เพราะฉะนั้น นอกจากเข้าใจปัญหา และมองแนวทางในการแก้ปัญหา … เราก็มีโจทย์ ในการวิจัยนั้น ซึ่งได้ชี้ช่องทางให้เราเห็นถึง .. แนวทางการพัฒนา หมายความว่า เป็นการพัฒนาต่อไป … เป็นการกำหนดแนวทาง การพัฒนาที่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของท้องถิ่นโดยเฉพาะ … การทำงานวิจัยในรูปนี้ .. เราจะต้องมองเงื่อนไข ศักยภาพ เพื่อที่จะให้ท้องถิ่น สามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้” ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อมีงานวิจัย มีข้อมูลและประสบการณ์จากหลายๆ พื้นที่ หลายๆ ชุมชนทั่วประเทศเพียงพอ ก็คาดว่า จะสามารถนำไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ เพื่อผลักดัน สู่การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ในระดับภาค ระดับประเทศ ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นคลี่คลายในที่สุด

หลักสูตร

17.3 รายวิชาในหลักสูตร
17.3.1 หมวดวิชาแกน
- แผน ก แบบ ก2 ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
1601 502 วิธีการทางสถิติสำหรับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2(1-2-4)
Statistical Methods for Social Sciences and Humanities
1601 503 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2(1-2-4)
Research Methodology for Social Sciences and Humanities
1601 505 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร* 2(1-2-4)
Information and Communication Technology Application
1601 506 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ** 2(1-2-4)
English for Graduate Studies
1601 507 ภาษาอังกฤษสำหรับการเขียนวิทยานิพนธ์ ** 2(1-2-4)
English for Thesis Writing
หมายเหตุ :
* รายวิชา1601 505 สำหรับนิสิตที่สอบไม่ผ่านการสอบวัดความรู้ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เลือกเรียนโดยไม่นับหน่วยกิตและได้ผลการเรียนระดับขั้น S
** รายวิชา 1601 506 และ 1601 507 นิสิต แผน ก เลือกเรียนแทนการสอบภาษาอังกฤษ
โดยไม่นับหน่วยกิต และได้ผลการเรียนระดับขั้น S

17.3.2 หมวดวิชาบังคับ
- แผน ก แบบ ก 1 เรียนรายวิชาทั้ง 4 รายวิชาต่อไปนี้ โดยไม่นับหน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก 2 ต้องเรียนจำนวน 12 หน่วยกิต
0109 111 โลกทรรศน์ร่วมสมัย 3(3-0-6)
Contemporary World Views
0109 112 วิธีวิทยาการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Local Development Methodology
0109 113 ชีวทรรศน์ท้องถิ่น 3(3-0-6)
Life Perception of Local Communities
0109 114 สัมมนาการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Seminar on Research for Local Development

17.3.3 หมวดวิชาเลือก
- แผน ก แบบก 2 ต้องเรียนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
0109 121 วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3(3-0-6)
Participatory Action Research
0109 122 การพัฒนาระบบคิด 3(3-0-6)
Thinking System Development
0109 123 มานุษยวิทยาวัฒนธรรมและการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Cultural Anthropology and Local Development
0109 124 การจัดการโครงการแบบมีส่วนร่วม 3(3-0-6)
Participatory Project Management
0109 125 จิตวิทยาสังคมเพื่อชุมชนท้องถิ่น 3(3-0-6)
Social Psychology for Local Communities
0109 126 นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Innovations for Local Development
0109 127 การจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธี 3(3-0-6)
Non-violence Conflict Management
0109 128 ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Information System for Local Development
0109 129 ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Leadership for Local Development
0109 130 การประเมินผลโครงการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Local Development Project Evaluation
0109 131 ขบวนการประชาสังคมท้องถิ่น 3(3-0-6)
Local Civil Society Movement
17.3.4 หมวดวิชาประสบการณ์วิจัย
แผน ก แบบ ก1 ให้ลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก2 ให้ลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
0109 231 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
Thesis
0109 232 วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
Thesis

17.4 แผนการศึกษา
ปีที่ 1 ภาคต้น
รหัส
ชื่อวิชา
จำนวนหน่วยกิต
แบบ ก1
แบบ ก2
0109 111
โลกทรรศน์ร่วมสมัย*
Contemporary World Views
-
3(3-0-6)

0109 113
ชีวทรรศน์ท้องถิ่น*
Life Perception of Local Communities
-
3(3-0-6)

1601 502
วิธีการทางสถิติสำหรับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ *
Statistical Methods for Social Sciences and Humanities
-
2(1-2-4)

0109 xxx
หมวดวิชาเลือก
-
6 หน่วยกิต
0109 232
วิทยานิพนธ์
Thesis
6 หน่วยกิต
-

รวม
6 หน่วยกิต
14 หน่วยกิต
หมายเหตุ * ลงทะเบียนโดยไม่นับหน่วยกิต สำหรับ แบบ ก 1
ปีที่ 1 ภาคปลาย
รหัส
ชื่อวิชา
จำนวนหน่วยกิต
แบบก ก1
แบบ ก2
0109 112
วิธีวิทยาการพัฒนาท้องถิ่น*
Local Development Methodology
-
3(3-0-6)

0109 114
สัมมนาการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
Seminar on Research for Local Development
-
3(3-0-6)
1601 503
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์* Research Methodology for Social Sciences and Humanities
-
2(1-2-4)

0109 232
วิทยานิพนธ์
Thesis
6 หน่วยกิต
-
0109 xxx
หมวดวิชาเลือก
-
6 หน่วยกิต

รวม
6 หน่วยกิต
14 หน่วยกิต
หมายเหตุ * ลงทะเบียนโดยไม่นับหน่วยกิต สำหรับ แบบ ก 1

ปีที่ 2 ภาคต้น
รหัส
ชื่อวิชา
จำนวนหน่วยกิต
แบบ ก1
แบบ ก2
0109 231
วิทยานิพนธ์
Thesis
-
3 หน่วยกิต
0109 232
วิทยานิพนธ์
Thesis
12 หน่วยกิต
-

รวม
12 หน่วยกิต
3 หน่วยกิต





ปีที่ 2 ภาคปลาย
รหัส
ชื่อวิชา
จำวนวนหน่วยกิต
แบบ ก1
แบบ ก2
0109 231
วิทยานิพนธ์
Thesis
-
9 หน่วยกิต
0109 232
วิทยานิพนธ์
Thesis
12 หน่วยกิต
-

รวม
12 หน่วยกิต
9 หน่วยกิต


17.5 คำอธิบายรายวิชา
17.5.1 หมวดวิชาแกน

1601 502 วิธีการทางสถิติสำหรับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2(1-2-4)
Statistical Methods for Social Sciences and Humanities
ความหมายและประเภทของวิธีการทางสถิติ ลักษณะข้อมูลทางสถิติ การแจกแจงความถี่ การนำเสนอข้อมูล การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย การวัดความสัมพันธ์
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
การทดสอบสมมติฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิจารณ์การใช้สถิติในการวิจัย
Definitions and types of statistical methods; characteristics of statistical data, frequency distribution, data presentation; measures of central tendency, measures of dispersion, measures of relationship, multiple regression analysis; analysis of variance, analysis of covariance; hypothesis testing, multiple comparison; data analysis by the uses of statistical packages; criticism of statistics used in research studies





1601 503 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2(1-2-4)
Research Methodology for Social Sciences and Humanities
มโนทัศน์เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ประเภทของการวิจัย การกำหนดหัวข้อวิจัย
การนิยามปัญหา วิธีดำเนินการวิจัย การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ในการวิจัย เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และการแปลความหมาย การเขียนรายงานวิจัย การประเมินผลการวิจัย การเขียนเค้าโครงวิจัย แนวโน้มการวิจัย
Concepts of research methodologies, types of research, identification of research problem, definition of problems, research procedures, review of related literature, sampling techniques, instruments and techniques for collecting data; data analysis and interpretation, research report writing, evaluation of research, research proposal practicum, trends in research

1601 505 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2(1-2-4)
Information and Communication Technology Application
ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเอกสาร ตารางคำนวณ การนำเสนอผลงาน การใช้บริการอินเทอร์เน็ต
ในการค้นข้อมูลและการสื่อสารข้อมูล เช่น Search engine และ E-mail เป็นต้น
Hardware, software and computer internet; application of information and communication technology to management of document; spread sheet software, presentation software; internet service in searching and communication data such as search engine and E-mail etc.

1601 506 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 2(1-2-4)
English for Graduate Studies
ศัพท์โครงสร้างภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อการพูดเพื่อการสื่อสารในบริบทที่เป็นทางการและวิชาการ รูปแบบ องค์ประกอบ เทคนิคการอ่าน เขียนเรื่องและย่อหน้าของงานเขียนทางวิชาการและการอ่านบทความ และงานเขียนวิชาการเฉพาะด้าน
English vocabulary and basic structure necessary for communication in official and academic contexts; patterns, components, reading techniques, paragraph and writing, reading and writing for specific purposes

1601 507 ภาษาอังกฤษสำหรับการเขียนวิทยานิพนธ์ 2(1-2-4)
English for Thesis Writing
การฝึกอ่านบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ การฝึกเขียนบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ในรูปแบบต่าง ๆ และการเขียนวิทยานิพนธ์ตามสาขาที่เรียน
Practices in reading thesis or dissertation abstracts from academic journals; practices in writing various formats of thesis or dissertation abstracts; writing a thesis or dissertation according to one’s field of study

17.5.2 หมวดวิชาบังคับ

0109 111 โลกทรรศน์ร่วมสมัย 3(3-0-6)
Contemporary World Views
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ในมิติเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เชื่อมโยงกับระบบวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น แนวทางการปรับตัวและการดำรงอยู่ของระบบนิเวศชุมชนท้องถิ่นในกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นในมิติต่างๆ โดยใช้ แนวคิด และทฤษฎีการพัฒนาสังคมต่างๆ มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์
Changes in the era of globalization through lens of economy, society and politics in connection with the cultural system of local communities; means of self-adaptation and existence of eco-systems of local communities in the rapidly changing world as well as strengths of local communities in various dimensions by employing concepts and theories of social development as analytical procedures

0109 112 วิธีวิทยาการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Local Development Methodology
แนวคิด หลักการพัฒนา การเสริมสร้างความเข้มแข็งและพลังให้กับคนและชุมชนท้องถิ่น การพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่น เทคนิควิธีการและทักษะสำคัญในการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม เช่น การจัดฝึกอบรมและการจัดกระบวนการเรียนรู้ การเป็นวิทยากรกระบวนการ การสรุปบทเรียนงานพัฒนา การประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน การประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วม และ การทำแผนที่ทางสังคม เป็นต้น
Concepts and principles of development; strengthening and empowering people and local community; participatory community development; knowledge management for local development; core techniques, approaches and skills in participatory development such as providing training courses, organizing leaning process, becoming facilitators, summarizing lessons learned about development, rapid rural appraisal, participatory rural appraisal, and making social maping etc

0109 113 ชีวทรรศน์ท้องถิ่น 3(3-0-6)
Life Perception of Local Communities
ปรัชญา ค่านิยมพื้นฐานของสังคมท้องถิ่น ระบบนิเวศท้องถิ่น วัฒนธรรมความเชื่อท้องถิ่นกับการพัฒนา ความเข้าใจตนเอง ระดับปัจเจก กลุ่ม ชุมชน และสังคมและการวิเคราะห์จุดอ่อน
จุดแข็ง การกำหนดแผนพัฒนาตนและฝึกปฏิบัติการพัฒนาตน การกำหนดเป้าหมายในชีวิตการทำงานและการพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาภายในสู่ภายนอก กระบวนเรียนรู้สังคมอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาจากภายนอกสู่ภายใน
Philosophy, fundamental values of local society; local eco-system; cultures, local beliefs and development; self understanding of individuals, groups, communities and society; determining strengths and weaknesses; establishing a self-developing plan and practicing in
Self-development; establishing life goals and local development through the inside out approach; participatory social learning process through the outside in approach

0109 114 สัมมนาการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Seminar on Research for Local Development
ประมวลและศึกษาปัญหาท้องถิ่น เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม
เป็นต้น พัฒนาและออกแบบการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยการประยุกต์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้สหวิทยาการ เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การบริหารธุรกิจ สังคมศาสตร์
เป็นต้น ในการทำความเข้าใจเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่น
Collecting and studying local problems in different perspectives including such as economy, society, politics and environments; developing and designing research for local development by applying knowledge, local wisdom and interdisciplinary knowledge such as science, technology, environment, business administration and social sciences so as to gain better understanding about developing and solving problems in local community
17.5.3 หมวดวิชาเลือก

0109 121 วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3(3-0-6)
Participatory Action Research
แนวคิดและออกแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดปัญหา การพัฒนาโจทย์วิจัย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การคิดค้นแนวทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา การวางแผน การปฏิบัติการ การเขียนรายงาน
การสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบพหุภาคี
Concepts and participatory action research design for local community through stating problems, formulating research questions, collecting data, analyzing data, searching for solutions to problems or development, planning, taking actions, writing reports; establishing learning process among related agents

0109 122 การพัฒนาระบบคิด 3(3-0-6)
Thinking System Development
เทคนิค วิธีการคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงตระหนักคุณค่าตนเอง การคิดเชิงพุทธ(โยนิโสมนสิกา) การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงวิพากษ์ อภิปรายการนำใช้ระบบคิดกับการพัฒนาตน
กลุ่ม และสังคม รวมถึงปฏิบัติการฝึกการพัฒนาระบบคิด
Techniques and methods in creative thinking, self-worth thinking, Buddhist thinking, systematic thinking, critical thinking; discussion of employing the thinking systems to improve self, group, and society and practice in developing the thinking systems

0109 123 มานุษยวิทยาวัฒนธรรมและการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Cultural Anthropology and Local Development
ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษามานุษยวิทยา ทัศนะมุมมองทางมานุษยวิทยา การกำเนิดและวิวัฒนาการของวัฒนธรรมมนุษย์ ความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรม ปัญหาเชื้อชาติ การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม การผสมผสานวัฒนธรรม การขัดแย้งทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ในระดับโลก ระดับชาติ และท้องถิ่น อภิปรายระบบนิเวศวัฒนธรรมชุมชนกับการพัฒนาท้องถิ่น
Understanding of anthropological studies, anthropological perspectives, origin and evolution of human culture; thoughts on cultures; problems of nationality; cross-cultural learning; cultural assimilation; cultural conflicts; cultural changes at the local, national and global level; discussion on local cultural ecological system and local development

0109 124 การจัดการโครงการแบบมีส่วนร่วม 3(3-0-6)
Participatory Project Management
ทฤษฎีและการปฏิบัติ การออกแบบและการจัดการโครงการแบบมีส่วนร่วม
โดยเน้นหนักในทักษะสำคัญดังเช่น การวิเคราะห์ประเมินปัญหาความต้องการของกลุ่มหรือพื้นที่เป้าหมาย การออกแบบโครงการ การออกแบบการติดตามงาน รวมถึงการประเมินผลโครงการ
Theories and practice on participatory project design and management with an emphasis on important skills such as analyzing and assessing the problems of needs in target group or area; designs of project and work follow-up along with project evaluation

0109 125 จิตวิทยาสังคมเพื่อชุมชนท้องถิ่น 3(3-0-6)
Social Psychology for Local Communities
ความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยากับการพัฒนาสังคม วิเคราะห์โครงสร้างและวิธีการจิตวิทยาสังคมเพื่อชุมชนท้องถิ่น วิเคราะห์ขอบเขตของจิตวิทยาในการอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมท้องถิ่น โดยเน้นการวิเคราะห์บทบาทของงานวิจัยเพื่อสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาคนในท้องถิ่น
Relationship between psychology and social development; analysis of structure and methods in social psychology for local communities; analysis of scope in psychology in describing human behaviors in local society with an emphasis on analyzing roles of research for creating awareness in local people development

0109 126 นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Innovations for Local Development
กระบวนการก่อเกิดของนวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ภูมิปัญญาดั้งเดิม องค์ความรู้ใหม่ รูปแบบการมีส่วนร่วมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงการสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่น
Innovation forming process in local development from past to present; Traditional wisdom and new body of knowledge; forms of participation and suitable technologies for local development including synthesis of knowledge for enhancing innovations in local development
0109 127 การจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธี 3(3-0-6)
Non-violence Conflict Management
ธรรมชาติของความขัดแย้ง การก่อตัวของความขัดแย้งจากกระบวนการทางการเมืองและสังคม และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง รวมถึงเทคนิควิธีการ ทักษะในการจัดการความขัดแย้งอย่างสันติวิธี การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stakeholders) การเจรจาต่อรอง ภายใต้บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน วิเคราะห์แนวทางการจัดการความขัดแย้งในกรอบแนวคิดทางตะวันตก แนวคิดตะวันออก และแนวคิดวัฒนธรรมท้องถิ่น
Natures of conflicts, conflict formation resulting from social and political processes and approaches on conflict management including techniques methods and skills in non-violence conflict management; analysis of stakeholders; negotiations in different political, economic and cultural contexts; analysis of strategies in managing conflicts in the concepts of the Western and Eastern world as well as local cultures

0109 128 ระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Information System for Local Development
แนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารในสังคม การวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนา การจัดระบบสารสนเทศท้องถิ่น การจัดทำระบบฐานข้อมูล การนำฐานข้อมูลมาใช้ในงานพัฒนา การเผยแพร่ขยายผลองค์ความรู้สู่สาธารณะผ่านสื่อต่างๆ
Approaches and theories in social communication; analysis of communication process for development; management of local information system and database system; using database in development work; dissemination of body of knowledge through various forms of mass media

0109 129 ภาวะผู้นำเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Leadership for Local Development
ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบต่างๆ ความสำคัญของภาวะผู้นำและบทบาทผู้นำในงานพัฒนาท้องถิ่น การประเมินภาวะผู้นำในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร จิตวิทยาและเทคนิควิธีในการพัฒนาผู้นำ กระบวนการสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม องค์กรหรือสถาบัน ที่จะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างคุณภาพงานพัฒนาท้องถิ่น
Leadership theories; importance of leadership and leaders’ role in local development; evaluation of leadership at the individual, group and organization levels; psychology and techniques in developing leaders; process in developing and enhancing leadership at the individual, group, organization or institution level to increase the quality of local development work

0109 130 การประเมินผลโครงการพัฒนาท้องถิ่น 3(3-0-6)
Local Development Project Evaluation
ความสำคัญของการประเมินผลโครงการกับการพัฒนา หลักการ เทคนิค วิธีการประเมินผลโครงการแบบต่างๆ ฝึกปฏิบัติการออกแบบโครงการที่สะดวกต่อการติดตามประเมินผล
การออกแบบการติดตามประเมินผลโครงการแบบมีส่วนร่วม เทคนิควิธีการสำคัญในการติดตามประเมินผลโครงการ และการเขียนรายงานประเมินผลโครงการ
Importance of project evaluation to development; principles, techniques and methods of various project evaluations; practice in designing projects conducive for follow-up evaluations; design and evaluation of participatory project; important techniques and methods in project follow-up and evaluations; writing reports of project evaluations

0109 131 ขบวนการประชาสังคมท้องถิ่น 3(3-0-6)
Local Civil Society Movement
พลวัตท้องถิ่นกับการพัฒนา องค์การปกครอง/สถาบันท้องถิ่นกับการพัฒนา ขบวนการประชาสังคมท้องถิ่น การพัฒนาองค์กร การสร้างเครือข่าย การสร้างภาคีและการเชื่อมโยงภาคีการพัฒนา หลักธรรมาภิบาลในการพัฒนา
Local dynamics and development; governing organizations/local institutions and development, local civil society movement; organization development and networking; forming alliance for development work; rules of good governance for development








17.5.4 หมวดวิชาประสบการณ์วิจัย
0109 231 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
Thesis
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์
Participatory action research pertaining to solve local community problems under a close supervision of the thesis advisory committee

0109 232 วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
Thesis
วิจัยเชิงลึกด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หรือวิธีวิทยาวิจัยเพื่อท้องถิ่น สร้างองค์ความรู้ใหม่ร่วมกับชุมชนในการแก้ปัญหาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การดูแลแนะนำอย่างใกล้ชิดของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์
An intensive and advanced research pertaining by the participatory action research or local community research methodology to create a new body of knowledge for solving local problems concretely under a close supervision of the thesis advisory committee

ปรัชญาและเนื้อหาหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2551)

1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ภาษาอังกฤษ : Master of Arts Program in Research for Local Development

2. ชื่อปริญญา
ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น)
(ชื่อย่อ) : ศศ.ม. (วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) : Master of Arts (Research for Local Development)
(ชื่อย่อ) : M.A. (Research for Local Development)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

4. หลักการและเหตุผล ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
4.1 หลักการและเหตุผล
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาขึ้นมาจากข้อเสนอของนักวิชาการ นักพัฒนาสังคม ผู้นำท้องถิ่นและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในงานพัฒนาสังคมท้องถิ่นทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยมีเป้าหมายว่าการวิจัยจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ การแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การพัฒนาสังคมท้องถิ่นอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนในการพัฒนาของประเทศโดยเฉพาะในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์(Globalization) ที่นอกจากจะนำความเจริญและพัฒนาด้านเศรษฐกิจและด้านต่าง ๆ ในสังคมท้องถิ่นแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น ปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาซึ่งก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหาสังคม วัฒนธรรม ที่ให้ความสนใจในการสร้างมูลค่าและการรับเอาการบริโภคนิยมจนทำให้คุณค่าดั้งเดิมและภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกทำลาย จนนำไปสู่ภาวะวิกฤติในสังคม เกิดความอ่อนแอของชุมชนทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ประกอบกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยมุ่งลดบทบาทของรัฐส่วนกลาง(Decentralize) ลงเหลือภารกิจหลักที่ต้องทำเท่าที่จำเป็น เนื่องจากรัฐมีขีดความสามารถและทรัพยากรที่จำกัด และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนในการบริหารงานชุมชนในการตอบสนองปัญหา ความต้องการของท้องถิ่นมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม ดังนั้นการเตรียมความพร้อมบุคลากรและพัฒนาคนในท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศ
หลักสูตรวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นความร่วมมือระหว่างคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ต้องการสร้างนักปฏิบัติการทางสังคมให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น เกิดกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์องค์ความรู้ ประสบการณ์ในท้องถิ่นเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ อันจะนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น ตลอดจนให้ท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์จากการวิจัยและการพัฒนา นับเป็นการเสริมพลัง (Empowerment) ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาเพื่อบรรลุสู่ความยั่งยืนของประเทศและภูมิภาค กล่าวได้ว่าหลักสูตรการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นเป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการตามพันธกิจหลักอย่างรอบด้านทั้งด้านการสอน การวิจัย
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการบริการวิชาการแก่ชุมชน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้เข้าร่วมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยเพื่อท้องถิ่นร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและพื้นที่ใกล้เคียง
จากบทเรียนการทำงานร่วมกับภาคีงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาที่ใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนท้องถิ่น ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาที่ช่วยสร้างเสริมความเข้มแข็งของท้องถิ่นให้ก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างแท้จริง แต่การสร้างบุคลากรที่จะเข้าไปทำงานในการส่งเสริมการทำงานด้านนี้ยังมีข้อจำกัดด้านปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นตั้งเป้าหมายในการผลิตบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นขึ้นมา เพื่อผลิตมหาบัณฑิตด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นออกมารับใช้สังคมอย่างแพร่หลายต่อไป


4.2 ปรัชญาของหลักสูตร
การบูรณาการวิธีวิทยาวิจัยและวิธีวิทยาการพัฒนาที่สอดคล้องกับฐานนิเวศวัฒนธรรม นำไปสู่การเสริมสร้างพลังชุมชนท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ได้ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงของระบบ
โลกาภิวัตน์

4.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านวิธีวิทยาวิจัยท้องถิ่นและวิธีวิทยาการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีคุณสมบัติสำคัญดังนี้
1.1 เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการใช้วิธีวิทยาวิจัยท้องถิ่นและวิธีวิทยาการพัฒนาท้องถิ่น ในการ กระตุ้น/ผลักดัน/ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาร่วมกับชุมชนท้องถิ่น
1.2 เป็นนักปฏิบัติการทางสังคมที่มีจิตสาธารณะ มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ความหลากหลายของนิเวศวัฒนธรรม ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น
2. เพื่อใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการสร้างความร่วมมือกับภาคีต่างๆที่จะนำไปสู่
การเพิ่มคุณภาพมหาบัณฑิตและตอบสนองความต้องการขององค์กร/หน่วยงาน
3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่นและขยายผลวิธีวิทยาวิจัยเพื่อท้องถิ่น นำไปใช้ในกระบวนพัฒนาสังคมเพิ่มมากขึ้น ทั้งในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคเอเชีย ผ่านการบูรณาการด้านการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการชุมชน